ความหมาย คำว่า พุทธมามกะ แปลว่า ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นของตน การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หมายถึง การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน การปฏิญาณตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะคราวเดี่ยว ทำซ้ำๆตามกำลังแห่งศรัทธาและความเลื่อมใสก็ได้ เช่น พระสาวกบางรูป ภายหลังแต่ได้รับการอุปสมบทแล้วก็ลั่นวาจาว่า “พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก” ดังนี้ เป็นต้น ความเป็นมา เมื่อความนิยมในการบวชสามเณรลดลง พร้อมกับการส่งเด็กไปเรียนในต่างประเทศมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ทรงพระราชปริวิตกว่า เด็กๆจักไม่มีความรู้สึกที่ดีต่อพระพุทธศาสนา จึงโปรดให้พระโอรสของพระองค์ทรงปฏิญาณพระองค์เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาก่อน และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖) ได้เป็นพระ องค์แรกที่ปฏิญาณพระองค์ตามธรรมเนียมที่ทรงตั้งขึ้นใหม่นั้น และใช้เป็นราชประเพณีต่อมาอีกหลายพระองค์ เช่น พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุมพฎพงศ์บริพัตร พระโอรสสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตกับหม่อมเจ้าองค์อื่นๆก่อนจะไปศึกษาในยุโรปก็ได้แสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะก่อน เป็นต้น โดยเหตุนี้ จึงเกิดเป็นประเพณีนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะขึ้นสืบต่อกันมา ในปัจจุบัน ความนิยมแสดงตนเป็นพุทธมามกะของชาวพุทธไทย สามารถสรุปได้ ดังนี้ ๑.เมื่อบุตรหลานของตนรู้เดียงสาเจริญวัยอยู่ในระหว่าง ๑๒ – ๑๕ ปี ก็ประกอบพิธีให้บุตรหลานได้แสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อให้เด็กสืบความเป็นชาวพุทธตามตระกูลต่อไป ๒.เมื่อจะส่งบุตรหลานไปเรียนยังต่างประเทศที่มิใช่ดินแดนของพระพุทธศาสนา …
อ่านต่อพระพุทธศานาในโลก
การเรียนรู้พระพุทธประวัติโดยสังเขป ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม และเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากศาสนาหนึ่งของโลก รองจาก ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาฮินดู ประวัติความเป็นมาของศาสนาพุทธ เริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาล ผู้ประกาศศาสนาและเป็นศาสดาของศาสนาพุทธคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนวิสาขะหรือเดือน ๖ ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แค้วนมคธ ประเทศอินเดีย ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช ปัจจุบันสถานที่นี้ เรียกว่า พุทธคยา อยู่ห่างจากเมืองคยาประมาณ ๑๑ กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาของพุทธศาสนาหลังจากการแพร่หลายไปทั่วอินเดีย หลังพุทธปรินิพพาน ๑๐๐ ปี จึงแตกเป็นนิการย่อย โดยนิกายที่สำคัญคือ เถรวาทและมหายาน นิกายมหายานได้แพร่หลายไปทั่วเอเชียกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก เมื่อศาสนาพุทธในอินเดียเสื่อมลง พุทธศาสนามหายานในเอเชียกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เสื่อมตามไปด้วย ยังคงเหลือในจีน ทิเบต ญี่ปุ่น เวียดนาม ส่วนนิกายเถรวาทได้เฟื่องฟูขึ้นอีกครั้งในศรีลังกา และแพร่หลายไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พุทธศาสนา ได้แพร่หลายไปยังโลกตะวันตกตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่ชาวตะวันตกหันมาสนใจพุทธศาสนามากขึ้นในยุคจักรวรรดินิยมและหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า …
อ่านต่อการปฏิบัติพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
พุทธศาสนพิธี ความสำคัญของศาสนพิธี การกระทำบุญกุศลในทางพระพุทธศาสนาของเรานั้นมีมากมายหลายอย่างต่างกันไป ตามแต่ละวิธีการที่จะเกิดขึ้นนั้น ๆ และแต่ละอย่างล้วนเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญ แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของประเพณีและวัฒนธรรมประจำชาติ – ศาสนา – องค์พระมหากษัตริย์ และประจำจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทยของเรามาเป็นเวลานับเป็นพัน ๆ ร้อย ๆ ปีผ่านมา และจะมีความเจริญรุ่งเรืองสืบต่อไปตลอดกาลนาน เมื่อกล่าวโดยจำเพาะเจาะจงแล้ว มูลเหตุแห่งการทำบุญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑. บุญในวันสำคัญของชาติ ศาสนา องค์พระมหากษัตริย์ ๒. บุญประจำประเพณีในเทศกาลต่าง ๆ เช่น ตรุษสงกรานต์ สารท เข้าพรรษา ออกพรรษาเป็นต้น ๓. บุญที่มีความเกี่ยวข้องเฉพาะตัวบุคคล บุญตามข้อ ๑ – ๒ นั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยชาวพุทธทั้งหลายจะพึงกระทำบำเพ็ญเป็นสามัคคีธรรมร่วมกันตามแต่ละสถานที่ และท้องถิ่นนั้น ๆ ส่วนบุญตามข้อ ๓ นั้น เป็นหน้าที่ของผู้เป็นเจ้าภาพ และญาติมิตรจะพึงกระทำกันเป็นการเฉพาะ และยังแบ่งบุญนี้ออกเป็น …
อ่านต่อการศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
สรุปหลักพุทธศาสนา ๑.พุทธศาสนามีหลักการเดียวกับวิทยาศาสตร์ คือ ๑. สอนอย่างมีเหตุผล ๒. ศึกษาจากของจริงที่มีอยู่จริง ๓. เชื่อจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๒.คำสอนทั้งหมดของพุทธศาสนาสรุปอยู่ที่ ๑. ละเว้นความชั่วทั้งปวง ๒. ทำความดีให้เต็มเปี่ยม ๓. ทำจิตให้บริสุทธิ์ ๓.พุทธศาสนามีคำสอนอยู่ ๒ ระดับ คือ ๑. ระดับศีลธรรม หรือระดับต่ำ ที่สอนให้ละเว้นความชั่ว และทำความดี โดยเอาไว้สอนคนที่ความรู้น้อย เช่นชาวบ้าน ๒. ระดับสูง ที่สอนให้ทำจิตให้บริสุทธิ์ หรือดับทุกข์ของจิตใจในปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ โดยเอาไว้สอนคนที่มีความรู้ ๔.คำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนาก็คือ คำสอนระดับสูง คือ เรื่อง อริยสัจ ๔ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดับทุกข์ อันได้แก่ ๑. ทุกข์ คือเรื่องความทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน ๒. สมุทัย คือเรื่องสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง ๓. นิโรธ …
อ่านต่อ